ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์

จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (16 มิถุนายน พ.ศ. 2451 — 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506) เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งจนถึงแก่อสัญกรรม, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, ผู้บัญชาการทหารบกและอธิบดีกรมตำรวจ เป็นผู้ริเริ่มการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นผู้ก่อตั้งสำนักงบประมาณ เป็นผู้ก่อตั้งธนาคารทหารไทย และบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด เจ้าของคำพูดที่ว่า "พบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ" และ "ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว"

ระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จอมพลสฤษดิ์ได้ให้การสนับสนุนผู้มีอำนาจของประเทศลาว นายพลพูมี หน่อสะหวัน ในการต่อสู้กับกองโจรคอมมิวนิสต์ปะเทดลาว ในราชอาณาจักรลาว

จอมพลสฤษดิ์มีอนุภรรยาจำนวนมาก และมีบุตรหลายคน สมรสครั้งสุดท้ายกับ นางสาววิจิตรา ชลทรัพย์ ต่อมาคือ ท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์[ต้องการอ้างอิง]

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีชื่อแต่แรกเกิดว่า สิริ ธนะรัชต์ เกิดเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2451 ที่บ้านปากคลองตลาด ตำบลพาหุรัด จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของพันตรี หลวงเรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนะรัชต์) กับจันทิพย์ จันทรสาขา (สกุลเดิม: วงษ์หอม) มีพี่ชายร่วมบิดามารดาชื่อ สวัสดิ์ ธนะรัชต์ มารดามีเชื้อสายลาวจากมุกดาหาร ส่วนบิดาเป็นชาวพระตะบองซึ่งอาจมีเชื้อสายเขมร

ขณะสฤษดิ์อายุได้ 3 ปี จันทิพย์ได้พาบุตรชายทั้งสองกลับจังหวัดมุกดาหารอันเป็นบ้านเดิมเพื่อหนีหลวงเรืองเดชอนันต์ที่มีอนุภริยาจำนวนมาก ระหว่างทางสวัสดิ์บุตรชายคนโตตายระหว่างทางด้วยไข้ป่า หลังจอมพลสฤษดิ์ได้พำนักอยู่บ้านเดิมของมารดาจนมีอายุได้ 7 ปี บิดาก็รับไปเรียนหนังสือต่อที่กรุงเทพมหานคร ส่วนจันทิพย์สมรสใหม่กับหลวงพิทักษ์พนมเขต (สีห์ จันทรสาขา) มีบุตร คือ สง่า, สงวน และสุรจิตต์ จันทรสาขา ซึ่งเป็นพี่น้องต่างบิดาของสฤษดิ์

สฤษดิ์เริ่มการศึกษาชั้นต้นที่จังหวัดมุกดาหาร จากนั้นเข้ารับการศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดมหรรณพาราม ในปี พ.ศ. 2462 ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2471 ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นนักเรียนทำการนายร้อย กองพันที่ 1 กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472

ต่อมาใน พ.ศ. 2476 เกิดกบฏบวรเดช นำโดยพลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ร้อยตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหนึ่งในผู้บังคับหมวดปราบปรามกบฏของฝ่ายรัฐบาล ที่มีพันเอกหลวงพิบูลสงครามเป็นผู้บังคับบัญชา หลังจากรัฐบาลได้รับชัยชนะ ได้รับพระราชทานยศร้อยโท จากนั้นอีก 2 ปีก็ได้เลื่อนยศเป็นร้อยเอก

ใน พ.ศ. 2484 ร้อยเอก สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้าร่วมรบในสงครามมหาเอเชียบูรพาขณะที่ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกองทัพทหารราบที่ 33 จังหวัดลำปาง มียศเป็นพันตรี จนช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2488 จึงได้เลื่อนยศเป็นพันเอก ตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 13 และผู้บังคับการจังหวัดทหารบกลำปาง

หลังสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง มีการผลัดเปลี่ยนอำนาจทางการเมือง โดยก่อนหน้านั้น เมื่อ พ.ศ. 2487 อำนาจของจอมพล ป. พิบูลสงครามได้เริ่มเสื่อมถอยลง หลังจากลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่พันเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ กลับเติบโตขึ้นโดยได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ ซึ่งเป็นหน่วยกำลังสำคัญ

พ.ศ. 2490 คณะนายทหารนำโดยจอมพลผิน ชุณหะวัณ รัฐประหารโค่นรัฐบาลพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ด้วยความเคารพเลื่อมใสที่มีต่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้อยู่เบื้องหลังการปฏิวัติ พันเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์เข้าร่วมคณะรัฐประหาร เป็นการกลับคืนสู่อำนาจอีกครั้งหนึ่งของจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยมีพันเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นขุนพลคู่ใจตั้งแต่นั้น

นับแต่นั้น ตำแหน่งของพันเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ก็ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ในปี พ.ศ. 2492 ได้รับพระราชทานยศพลตรี ดำรงตำแหน่งแม่ทัพกองทัพที่ 1 และรักษาการผู้บัญชาการกองพลที่ 1 ผลงานที่สร้างชื่อคือการเป็นหัวหน้าปราบกบฏวังหลวงเมื่อปีเดียวกัน จากนั้นก็ได้รับการเลื่อนยศเป็นพลโท ต่อด้วยการก้าวขึ้นตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2493 ต่อมาในปี พ.ศ. 2495 ได้ครองตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารบก รั้งยศพลเอก

ต่อมาในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2497 พลเอกสฤษดิ์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารบก ในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2498 พลเอกสฤษดิ์ได้รับพระราชทานยศ พลเรือเอก และ พลอากาศเอก

ต่อมาในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2499 พลเอกสฤษดิ์ได้รับพระราชทานยศ จอมพล พร้อมกับ พลเรือเอก หลวงยุทธศาสตร์โกศล

ในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ในฐานะ ผู้บัญชาการทหารบก ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นคนแรก

ต่อมาในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2502 จอมพลสฤษดิ์ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรักษาราชการแทน อธิบดีกรมตำรวจ แทน พลตำรวจเอกไสว ไสวแสนยากร

ในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม พลเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม

ในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2500 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อันเป็นรัฐบาลชุดสุดท้ายของจอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่หลังจากนั้น 10 วันก็ลาออก สาเหตุเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ซึ่งมีการกล่าวขานว่าเป็นการเลือกตั้งสกปรก ซึ่งผลคือ พรรคเสรีมนังคศิลา ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้รับเสียงข้างมาก และได้ตั้งรัฐบาล ท่ามกลางความวุ่นวายอย่างหนักจากการเดินประท้วงของประชาชนจำนวนมาก ที่เรียกร้องให้จอมพล ป. พิบูลสงครามและพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ ลาออกจากตำแหน่ง เมื่อสถานการณ์ลุกลาม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้แต่งตั้งให้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้บัญชาการ 3 เหล่าทัพ เพื่อคอยควบคุมสถานการณ์ แต่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์สั่งไม่ให้ทหารทำอันตรายประชาชนที่เดินขบวนชุมนุมประท้วง และเป็นผู้นำประชาชนเข้าพบจอมพล ป. ที่ทำเนียบ ทำให้กลายเป็นขวัญใจของประชาชนทันที จนได้รับฉายาในตอนนั้นว่า "วีรบุรุษมัฆวานฯ"[ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้] จากเหตุการณ์ดังกล่าว และเห็นว่ารัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามขาดความชอบธรรมในการปกครองบ้านเมืองแล้ว จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์จึงประกาศลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม[ต้องการอ้างอิงเต็ม] คงเหลือแต่ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกเพียงอย่างเดียว

วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และคณะทหารยื่นคำขาดต่อจอมพล ป. พิบูลสงครามให้รัฐบาลลาออก แต่ได้รับคำตอบจากจอมพล ป. พิบูลสงครามว่า ยินดีจะให้รัฐมนตรีลาออก แต่ตนจะขอเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลเอง ยิ่งสร้างความไม่พอใจแก่ประชาชน ซึ่งจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้พูดผ่านวิทยุยานเกราะถึงผู้ชุมนุมในเหตุการณ์นี้ โดยมีประโยค "พบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ" วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2500 ประชาชนพากันลุกฮือเดินขบวนบุกเข้าทำเนียบรัฐบาล เมื่อไม่พบจอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงพากันไปบ้านจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในขณะที่รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็กำลังเตรียมจับกุมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในข้อหากบฏ แต่ไม่ทัน ในคืนวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นำกำลังรัฐประหารรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในคืนนั้นเอง จอมพล ป. พิบูลสงคราม และพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ได้ลี้ภัยไปต่างประเทศ

หลังยึดอำนาจรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามแล้ว จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เห็นว่า ไม่เหมาะสมที่ตนเองจะขึ้นครองอำนาจ ประกอบกับมีปัญหาสุขภาพ จึงตั้งพจน์ สารสิน ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากรัฐบาลพจน์ สารสินจัดการเลือกตั้งเป็นที่เรียบร้อย พลโท ถนอม กิตติขจร ก็รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 แต่กาลต่อมา ได้เกิดความวุ่นวายจากความขัดแย้งระหว่างสมาชิกพรรคที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับรัฐมนตรีขึ้นในรัฐบาลพลโทถนอม กิตติขจร และพลโทถนอม กิตติขจรก็ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์จึงกลับจากต่างประเทศแล้วร่วมมือกับพลโทถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 หลังรัฐประหารรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร

ระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ประกาศยกเลิกสถาบันทางการเมืองต่าง ๆ เช่น พรรคการเมือง โดยกล่าวว่า "ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว" นโยบาย ได้แก่ การออกกฎหมายเลิกการเสพและจำหน่ายฝิ่น กฎหมายปราบปรามพวกนักเลง อันธพาล กฎหมายปรามการค้าประเวณี ตลอดจนการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ มีการทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504–2509) มีการสร้างสาธารณูปโภคสำคัญ เช่น ไฟฟ้า, ประปา, ถนน ให้กระจายไปทั่วทั้งในเมืองและชนบท ซึ่งเรียกว่า "น้ำไหล ไฟสว่าง ทางสะดวก"

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีฉายาว่า "จอมพลผ้าขาวม้าแดง" คือ ใช้มาตรการเบ็ดเสร็จเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยของประเทศ เช่น ประหารชีวิตเจ้าของบ้านทันทีหลังบ้านใดเกิดเพลิงไหม้ เพราะถือว่าเป็นการก่อความไม่สงบ การใช้ "รัฐธรรมนูญมาตรา 17" การปราบปรามการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นต้น ทั้งเป็นผู้รื้อฟื้นพิธีกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ เช่น จัดงานเฉลิมฉลองวันพระราชสมภพ, การสวนสนามของทหารรักษาพระองค์, การประดับไฟบนถนนราชดำเนินในวันเฉลิมพระชนมพรรษา เป็นต้น

ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ได้ประกาศนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว จอมพลจอมพลสฤษดิ์ได้มีความเห็นในการพัฒนาประเทศไทยให้มีภาพลักษณ์ในการท่องเที่ยวเหมือนบราซิลและอาร์เจนตินา โดยมีแผนการพัฒนาเมืองพัทยาให้เป็นเมืองพักผ่อนตากอากาศเหมือนบัวโนสไอเรส[ต้องการอ้างอิง] และพัฒนากรุงเทพมหานครให้เหมือนรีโอเดจาเนโร[ต้องการอ้างอิง] ในระหว่างนั้นสหรัฐอเมริกาเข้ามาสร้างฐานทัพในไทย ทำให้ทั้งสองเมืองดังกล่าวกลายเป็นแหล่งพักผ่อนของทหารอเมริกัน และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย

นอกจากนี้แล้ว ระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ประเทศไทยได้เกิดมีกรณีพิพาทกับประเทศกัมพูชา เพื่อนบ้าน ในกรณีประสาทเขาพระวิหาร ซึ่งก่อนหน้านั้นมีการเรี่ยไรเงินบริจาคจากประชาชนชาวไทยคนละ 1 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีในศาลโลก หลังจากมีคำพิพากษา จอมพลสฤษดิ์ออกแถลงการณ์แก่ประชาชนชาวไทยด้วยตนเองผ่านทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย[ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]

จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 ที่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ด้วยโรคไตพิการเรื้อรัง และอีกหลายโรค สิริอายุ 55 ปี เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนเดียวที่ถึงแก่อสัญกรรมในตำแหน่ง ซึ่งหลังการเสียชีวิตสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยได้เปิดเพลง "พญาโศก" เป็นการไว้อาลัย[ต้องการอ้างอิงเต็ม] และมีการประกาศไว้ทุกข์ 21 วัน มีพิธีพระราชทานเพลงศพที่วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหารในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2507 หลังมีพิธีศพ 100 วัน

หนึ่งเดือนหลังจากที่จอมพลสฤษดิ์ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว ทายาททั้งหลายต่างก็เริ่มวิวาทแก่งแย่งทรัพย์มรดกมหาศาลของนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 บุตรทั้ง 7 คนของจอมพลสฤษดิ์ได้ฟ้องท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์ ที่พยายามจะตัดสิทธิในส่วนแบ่งอันถูกต้องของทายาท

เนื่องจากเป็นเรื่องอื้อฉาวมาก ประชาชนจึงต่างให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งในคดีนี้และสื่อมวลชนก็ยกให้เป็นคดีที่อื้อฉาวที่สุดในเมืองไทย การที่ประชาชนให้ความสนใจในการพิจารณาคดีนี้ จึงเป็นการบังคับให้รัฐบาลจอมพลถนอมต้องเข้าแทรกแซงและสอบสวนเบื้องหลังความมั่งคั่งของจอมพลสฤษดิ์

ได้มีการเปิดพินัยกรรมของจอมพลสฤษดิ์ที่บ้านของจอมพลถนอม ต่อหน้าทนายความและนายทหารคนสำคัญๆ ที่เป็นผู้ใกล้ชิดจอมพลสฤษดิ์ ตัวพินัยกรรมเองลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 หลังจากจอมพลสฤษดิ์ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีเพียงเล็กน้อย ข้อสำคัญในพินัยกรรมกล่าวว่าทรัพย์สินทั้งหมดของจอมพลสฤษดิ์ให้ตกแก่ท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์แต่เพียงผู้เดียว โดยมีข้อแม้ว่าท่านผู้หญิงต้องให้ลูกเลี้ยง คือพันตรีเศรษฐา ธนะรัชต์และร้อยโทสมชาย ธนะรัชต์ คนละ 1 ล้านบาท พร้อมทั้งบ้านหนึ่งหลังที่เหมาะสมกับฐานะของบุคคลทั้งสอง อย่างไรก็ตาม จะเป็นไปตามเงื่อนไขนี้ก็ต่อเมื่อทรัพย์สินทั้งหมดที่เป็นเงินสดมีมากกว่า 10 ล้านบาท นอกจากนี้ที่นาของจอมพลสฤษดิ์จะต้องแบ่งให้แก่บุตรชายคนโตทั้งสองคนจำนวนเท่า ๆ กัน

โจทก์ร้องเรียนว่าจอมพลสฤษดิ์ได้เขียนพินัยกรรมขึ้นอีกฉบับหนึ่งซึ่งถูกท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์ ทำลายไปแล้วหลังจากที่เข้าบุกบ้านส่วนตัวของจอมพลสฤษดิ์ในค่ายกองพลที่ 1 บุตรชายทั้งสองกล่าวหาท่านผู้หญิงวิจิตราว่าได้พยายามจะรวบรวมทรัพย์สินทั้งหมดของจอมพลสฤษดิ์ไว้โดยอ้างว่ามีเงินจำนวนถึง 2,874,009,794 บาท รวมกันอสังหาริมทรัพย์อีกมากมายที่ไม่สามารถจะประมาณได้ ตรงกันข้ามท่านผู้หญิงวิจิตรากลับกล่าวว่าตนรู้เพียงว่ามีเงินเพียง 12 ล้านบาทเท่านั้น

ขณะที่รอคอยผลการตัดสินจากศาล บุตรของจอมพลสฤษดิ์ก็ได้ร้องเรียนจอมพลถนอมให้ใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 ในการสอบสวนเรื่องราวนี้ทั้งหมด หลังจากที่พิจารณาอย่างคร่าวๆ แล้ว รัฐบาลรู้สึกว่าหากมิได้ลงมือกระทำการอย่างรวดเร็วแล้ว ก็จะทำให้ฐานะของรัฐบาลไม่ดีในสายตาของประชาชน ดังนั้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2507 จอมพลถนอมจึงออกประกาศว่าตนจะได้นำมาตรา 17 มาใช้ในการยึดทรัพย์จอมพลสฤษดิ์และตั้งคณะกรรมการสอบสวนขอบข่ายการฉ้อราษฎร์บังหลวงของจอมพลสฤษดิ์

จากงานของคณะกรรมการคณะนี้ ปรากฏว่าจอมพลสฤษดิ์ได้ใช้เงินแผ่นดินเพื่อเลี้ยงดูนางบำเรอและลงทุนในธุรกิจ เงินผลประโยชน์ที่สำคัญๆ 3 แหล่งที่รัฐบาลสนใจคือ เงินงบประมาณ 394 ล้านบาทที่เป็นเงินสืบราชการลับของสำนักนายกรัฐมนตรี เงิน 240 ล้านบาทจากกองสลากกินแบ่งรัฐบาล และประมาณ 100 ล้านบาทซึ่งควรที่จะให้แก่กองทัพบกซึ่งได้เปอร์เซนต์จากการขายสลากกินแบ่ง

ในระหว่างการสอบสวน อธิบดีกรมทะเบียนการค้าเปิดเผยว่า จอมพลสฤษดิ์และท่านผู้หญิงวิจิตรามีผลประโยชน์จากบริษัทต่างๆ ถึง 45 แห่ง การถือหุ้นที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งก็คือในบริษัทกรุงเทพกระสอบป่าน ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 20 ล้านบาท ต่อมาสมาชิกผู้หนึ่งในคณะกรรมการบริษัทได้ให้ปากคำว่า หุ้นส่วน้เหล่านี้ได้โอนไปให้น้องชายจอมพลสฤษดิ์สองคน ซึ่งทั้งนี้ก็หมายความว่า จอมพลสฤษดิ์ได้ผลประโยชน์มหาศาลจากอุตสาหกรรมข้าว ซึ่งกฎหมายบังคับให้ซื้อกระสอบป่านจากบริษัทนี้ นอกจากจำนวนหุ้นและบัญชีเงินฝากในธนาคารจำนวนมากมายแล้ว จอมพลสฤษดิ์ยังมีที่ดินอีกจำนวนมหาศาล ดังที่อธิบดีกรมที่ดินกล่าวว่า จอมพลสฤษดิ์มีที่ดินมากกว่า 20,000 ไร่ในต่างจังหวัด และที่ดินอีกนับแปลงไม่ถ้วนทั้งในและทั่วพระนคร ส่วนเงินสดที่เก็บไว้ในธนาคารต่างๆ นั้น จอมพลสฤษดิ์มีอยู่ประมาณ 410 ล้านบาท ซึ่งถูกยึดไว้เพื่อพิจารณาว่าเงินส่วนใดเป็นของรัฐบาลหรือไม่

ในที่สุดศาลก็ได้พิจารณาคดีวิวาทเกี่ยวกับทรัพย์สินของจอมพลสฤษดิ์ตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2507 ศาลแนะนำให้ประนีประนอมกันโดยที่ให้ท่านผู้หญิงวิจิตราและพันโทเศรษฐาเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน และให้ตกลงกันเองต่อเมื่อปรากฏผลขั้นสุดท้ายของการสอบสวนของรัฐบาลแล้ว

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ จอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศเป็นอันมาก[ต้องการอ้างอิง]

(รัฐมนตรีช่วย) ประภาส จารุเสถียร • สุนทร หงส์ลดารมภ์ • ถนัด คอมันตร์ • บุญชนะ อัตถากร • พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร) • หม่อมหลวงชูชาติ กำภู • บุญรอด บิณฑสันต์

จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ?จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ?จอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ?จอมพลเรือ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ?จอมพลเรือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ? จอมพล (หญิง) สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ?จอมพล เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์อรุณ ฉัตรกุล) ? จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) ?จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ? จอมพลผิน ชุณหะวัณ ? จอมพลเรือ หลวงยุทธศาสตร์โกศล ? จอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี ?จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ? จอมพลอากาศ เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร ? จอมพลถนอม กิตติขจร ? จอมพลประภาส จารุเสถียร ? จอมพลเกรียงไกร อัตตะนันทน์

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ? สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ? พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ? เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์ อรุณ ฉัตรกุล)

เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) ? สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ? พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ? พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร

พระยาพหลพลพยุหเสนา ? แปลก พิบูลสงคราม ? พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต ? อดุล อดุลเดชจรัส ? ผิน ชุณหะวัณ ? สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ? ถนอม กิตติขจร ? ประภาส จารุเสถียร ? กฤษณ์ สีวะรา ? บุญชัย บำรุงพงศ์ ? เสริม ณ นคร ? เปรม ติณสูลานนท์ ? ประยุทธ จารุมณี ? อาทิตย์ กำลังเอก ? ชวลิต ยงใจยุทธ ? สุจินดา คราประยูร ? อิสระพงศ์ หนุนภักดี ? วิมล วงศ์วานิช ? ประมณฑ์ ผลาสินธุ์ ? เชษฐา ฐานะจาโร ? สุรยุทธ์ จุลานนท์ ? สมทัต อัตตะนันทน์ ? ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ? ประวิตร วงษ์สุวรรณ ? สนธิ บุญยรัตกลิน ? อนุพงษ์ เผ่าจินดา ? ประยุทธ์ จันทร์โอชา ? อุดมเดช สีตบุตร ? ธีรชัย นาควานิช

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ? พระยาเสนาภิมุข ? หม่อมเจ้าพันธุประวัติ เกษมสันต์ ? พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (หม่อมราชวงศ์สิทธิ สุทัศน์) ? พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทศศิริวงศ์ ? พระยากฤษณรักษ์ ? พระยาอินทรชิต ? พระยาพิชัยสงคราม ? กาจ กาจสงคราม ? สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ? ถนอม กิตติขจร ? ประภาส จารุเสถียร ? วิชัย พงศ์อนันต์ ? ชลอ จารุกลัส ? กฤษณ์ สีวะรา ? อรรถ ศศิประภา ? สำราญ แพทยกุล ? อ่อง โพธิกนิษฐ์ ? เกรียงไกร อัตตะนันทน์ ? ประเสริฐ ธรรมศิริ ? ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ? อำนาจ ดำริกาญจน์ ? เทพ กรานเลิศ ? ปิ่น ธรรมศรี ? วศิน อิศรางกูร ณ อยุธยา ? อาทิตย์ กำลังเอก ? พัฒน์ อุไรเลิศ ? พิจิตร กุลละวณิชย์ ? วัฒนชัย วุฒิศิริ ? ศัลย์ ศรีเพ็ญ ? ไพบูลย์ ห้องสินหลาก ? ชัยณรงค์ หนุนภักดี ? เชษฐา ฐานะจาโร ? บัณฑิตย์ มลายอริศูนย์ ? วินิจ กระจ่างสนธิ์ ? นิพนธ์ ภารัญนิตย์ ? ทวีป สุวรรณสิงห์ ? สมทัต อัตตะนันทน์ ? พรชัย เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา ? ประวิตร วงษ์สุวรรณ ? ไพศาล กตัญญู ? อนุพงษ์ เผ่าจินดา ? ประยุทธ์ จันทร์โอชา ? คณิต สาพิทักษ์ ? อุดมเดช สีตบุตร ? ไพบูลย์ คุ้มฉายา ? ธีรชัย นาควานิช ? กัมปนาท รุดดิษฐ์ ? เทพพงศ์ ทิพยจันทร์

หลวงวีระโยธา ? หลวงสวัสดิ์สรยุทธ ? ไสว ไสวแสนยากร ? ครวญ สุทธานินทร์ ? สนิท สนิทยุทธการไทยยานนท์ ? หลวงสวัสดิ์ฤทธิรณ ? ชลอ จารุกลัส ? กฤษณ์ สีวะรา ? จิตต์ สุนทรานนท์ ? ธงเจิม ศังขวณิช ? จำลอง สิงหะ ? พโยม พหุลรัต ? สวัสดิ์ มักการุณ ? เปรม ติณสูลานนท์ ? แสวง จามรจันทร์ ? ลักษณ์ ศาลิคุปต ? พักตร์ มีนะกนิษฐ ? พิศิษฐ์ เหมะบุตร ? อิสระพงศ์ หนุนภักดี ? วิมล วงศ์วานิช ? ไพบูลย์ ห้องสินหลาก ? อารียะ อุโฆษกิจ ? อานุภาพ ทรงสุนทร ? สุรยุทธ์ จุลานนท์ ? เรวัต บุญทับ ? สนั่น มะเริงสิทธิ์ ? เทพทัต พรหโมปกรณ์ ? ชุมแสง สวัสดิสงคราม ? เหิร วรรณประเสริฐ ? สุเจตน์ วัฒนสุข ? สุจิตร สิทธิประภา ? วิบูลย์ศักดิ์ หนีพาล ? วีร์วลิต จรสัมฤทธิ์ ? ธวัชชัย สมุทรสาคร ? จีระศักดิ์ ชมประสพ ? ชาญชัย ภู่ทอง ? ธวัช สุกปลั่ง ? วิชัย แชจอหอ

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ ? วีระ วีระโยธา ? หลวงสวัสดิ์สรยุทธ ? หลวงจุลยุทธยรรยง ? ครวญ สุทธานินทร์ ? ผ่อง บุญสม ? ประพันธ์ กุลพิจิตร ? อรรถ ศศิประภา ? อ่อง โพธิกนิษฐ ? สำราญ แพทยกุล ? ประสาน แรงกล้า ? ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ? สมศักดิ์ ปัญจมานนท์ ? สีมา ปาณิกบุตร ? พร้อม ผิวนวล ? เทียบ กรมสุริยศักดิ์ ? รวมศักดิ์ ไชยโกมินทร์ ? ชัยชนะ ธารีฉัตร ? ศิริ ทิวะพันธุ์ ? ไพโรจน์ จันทร์อุไร ? ยิ่งยส โชติพิมาย ? สุรเชษฐ เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา ? ถนอม วัชรพุทธ ? สมหมาย วิชาวรณ์ ? วัธนชัย ฉายเหมือนวงศ์ ? อุดมชัย องคสิงห ? พิชาญเมธ ม่วงมณี ? สพรั่ง กัลยาณมิตร ? จิรเดช คชรัตน์ ? สำเริง ศิวาดำรงค์ ? ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ? วรรณทิพย์ ว่องไว ? ชาญณรงค์ ธนารุณ ? ปรีชา จันทร์โอชา ? สาธิต พิธรัตน์ ? สมศักดิ์ นิลบรรเจิดกุล

สัณห์ จิตรปฏิมา ? ปิ่น ธรรมศรี ? จวน วรรณรัตน์ ? หาญ ลีนานนท์ ? วันชัย จิตจำนงค์ ? วิศิษย์ อาจคุ้มวงษ์ ? ยุทธนา แย้มพันธ์ ? กิตติ รัตนฉายา ? ปานเทพ ภูวนารถนุรักษ์ ? ปรีชา สุวัณณะศรี ? ณรงค์ เด่นอุดม ? วิชัย บัวรอด ? ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ? พงษ์ศักดิ์ เอกบรรณสิงห์ ? พิศาล วัฒนะวงค์คีรี ? ขวัญชาติ กล้าหาญ ? องค์กร ทองประสม ? วิโรจน์ บัวจรูญ ? พิเชษฐ์ วิสัยจร ? อุดมชัย ธรรมาสาโรรัชต์ ? สกล ชื่นตระกูล ? วลิต โรจนภักดี ? ปราการ ชลยุทธ ? วิวรรธน์ ปฐมภาคย์

หลวงรัถยาภิบาลบัญชา (เอส.เย.เอมส์) • พระยาอรรคราชวราทร (ภัสดา บุรณศิริ) • เอ.เย.ยาดิน • อีริกเซ็นต์ เย ลอสัน • พระยาวาสุเทพ (กุสตาฟ เชา)

ประชา พรหมนอก • พรศักดิ์ ดุรงควิบูลย์ • สันต์ ศรุตานนท์ • โกวิท วัฒนะ • เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส • พัชรวาท วงษ์สุวรรณ • วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี • เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ • อดุลย์ แสงสิงแก้ว • สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง • จักรทิพย์ ชัยจินดา


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

ลีโอ กาเมซ ดัสติน ฮอฟฟ์แมน จักรพรรดินีมารีเยีย อะเลคซันโดรฟนาแห่งรัสเซีย โอลิมปิก 2008 กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 การก่อการกำเริบ 8888 วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ ยุทธการแห่งบริเตน บีเซนเต เดล โบสเก โคเซ มานวยล์ เรย์นา เคซุส นาบัส คาบี มาร์ตีเนซ เฟร์นันโด โยเรนเต เปโดร โรดรีเกซ เลเดสมา เซร์คีโอ ราโมส ควน มานวยล์ มาตา บิกตอร์ บัลเดส ชูอัน กัปเดบีลา ชาบี ดาบิด บียา อันเดรส อีเนียสตา การ์เลส ปูยอล ราอุล อัลบีออล กัปตัน (ฟุตบอล) อีเกร์ กาซียัส สโมสรฟุตบอลบียาร์เรอัล 2000 Summer Olympics Football at the Summer Olympics Spain national football team Valencia CF S.L. Benfica Sevilla FC Villarreal CF Midfielder Defender (association football) เนวิลล์ ลองบัตท่อม เจ.เค. โรว์ลิ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร) บ็อบบี ร็อบสัน สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงแห่งเบลเยียม แอนดรูว์ จอห์นสัน อิกเนเชียสแห่งโลโยลา เจ. เค. โรว์ลิ่ง เวสลีย์ สไนปส์ ฟิลิปที่ 3 ดยุกแห่งเบอร์กันดี ยอดเขาเคทู สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Munhwa Broadcasting Corporation โจ อินซุง ควอน ซัง วู ยุน อึนเฮ รักวุ่นวายของเจ้าชายกาแฟ อุซึมากิ คุชินะ มาเอดะ อัตสึโกะ คิม ฮีชอล เจสสิก้า ซิมพ์สัน จาง เซี๊ยะโหย่ว พิภพ ธงไชย วิมล ศิริไพบูลย์ มหาธีร์ โมฮัมหมัด บอริส เยลซิน ออกแลนด์ เรนโบว์วอริเออร์ ฝ่ายพันธมิตร เด่น จุลพันธ์ เคอิทาโร โฮชิโน แมนนี่ เมลชอร์ ผู้ฝึกสอน ไมเคิล โดมิงโก ก. สุรางคนางค์ นิโคล เทริโอ ซีเนอดีน ซีดาน เริ่น เสียนฉี โจเซฟีน เดอ โบอาร์เนส์ โอดะ โนบุนากะ แยกราชประสงค์ แคชเมียร์ วีโต้ แอฟริกัน-อเมริกัน Rolling Stone People (magazine) TV Guide อินสตาแกรม Obi-Wan Kenobi Saturday Night Live The Lego Movie Jurassic World Guardians of the Galaxy (film) Her (film) แอนนา ฟาริส จอมโจรอัจฉริยะ จอมโจรคิด ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ลุยจี กอนซากา ครีษมายัน เจริญ วัดอักษร อลิซ บราวน์ อินิโก โจนส์ กาแอล กากูตา

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
เลขมงคล รถยนต์ ทะเบียน ทะเบียนรถ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23180